:
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เทศบาลตำบลบ้านเกาะ // วิสัยทัศน์ : เมืองสมัยใหม่ ใส่ใจคุณภาพชีวิต พัฒนาเศรษฐกิจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม // ติดต่อสอบถาม: โทรศัพท์ : 055 - 479842 อีเมล์ : saraban-bankoh-utt@lgo.mail.go.th

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

อาณาเขตติดต่อ เทศบาลตำบลบ้าเกาะมีอาณาเขตโดยรอบ  ดังนี้
ทิศเหนือ            เขตติดต่อกับตำบลท่าอิฐเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์                                                  
ทิศตะวันออก     เขตติดต่อกับตำบลป่าเซ่า

ทิศใต้                 เขตติดต่อกับเทศบาลตำบลวังกะพี้                    
ทิศตะวันตก       เขตติดต่อกับตำบลไผ่ล้อม

ลักษณะภูมิประเทศ
          เทศบาลตำบลบ้านเกาะ มีพื้นที่รวมประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ประมาณ  3 กิโลเมตรและห่างจากศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณ  3.5  กิโลเมตร  มีถนนสายหลัก ในเขตพื้นที่ คือ ถนนศรีชาววัง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117) มีทางรถไฟตัดผ่านเป็นระยะทางประมาณ  7 กิโลเมตร ตั้งแต่เขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ถึงสุดเขตตำบลวังกะพี้ มีแม่น้ำน่านอยู่ทางทิศตะวันออกของตำบลบ้านเกาะ  และเป็นการแบ่งเขตระหว่างตำบลบ้านเกาะกับตำบลป่าเซ่าและตำบลหาดกรวด ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
          ตำบลบ้านเกาะ มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้ง หรือฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู เพราะได้รับอิทธิพลจากกระแสลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ มีความชื้น และความร้อนสูง ในฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส อากาศเย็นฤดูหนาวและมีฝนตกซุกในฤดูฝน
          ฤดูฝน  ซึ่งเป็นฤดูที่เริ่มลงมือเพาะปลูกพืชเมืองร้อน จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมและไปสิ้นสุดฤดูในเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนด้านที่ต้นลมจะได้รับปริมาณฝนมากกว่าด้านปลายลม ซึ่งฝนที่ตก อยู่นั้นเป็นลักษณะของฝนภูเขา พื้นที่หน้าเขาจะได้รับฝนมากกว่าด้านหลังเขา ฝนที่ตกเป็นฝนจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวเบงกอล กับฝนจากพายุดีเปรสชันที่พัดจากทะเลจีนใต้
            ฤดูหนาว  เป็นฤดูของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมและสิ้นสุดประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูหนาวในภาคเหนือมีลักษณะเห็นเด่นชัด กว่าภาคกลาง และภาคใต้ เพราะอยู่ใกล้แนวเคลื่อนที่ของอากาศหนาวเย็นที่เคลื่อนที่จากเขตความกดอากาศสูงในไซบีเรียและผ่านประเทศจีน
            ฤดูร้อน  เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์และไปสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคมในเดือนกุมภาพันธ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้ลมตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนมีกำลังแรงขึ้นเป็นผลให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นในภาคเหนือเป็นครั้งคราว ในเดือนมีนาคมและเมษายนอุณหภูมิในภาคเหนือขึ้นสูงมาก